จำนวนข้อมูลที่กำลังพุ่งทะยานขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในปัจจุบันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้องค์กรยุคใหม่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการข้อมูล มิฉะนั้นอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านข้อมูล กระทบความเชื่อมั่นในการตัดสินใจทางธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ Data Governance จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ
การมีระบบ Data Governance ที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยง แต่ยังเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถใช้ข้อมูลที่มีค่าในการสร้างนวัตกรรม ปรับปรุงกระบวนการ และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า Data Governance คืออะไร ทำไมมันถึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุคดิจิทัล และจะนำไปปรับใช้ในองค์กรของท่านได้อย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
Data Governance คือ
ธรรมาภิบาลข้อมูล หรือ Data Governance คือกระบวนการที่ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการข้อมูลในองค์กรอย่างเป็นระบบและปลอดภัย เป้าหมายหลักคือการทำให้ข้อมูลในองค์กรมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเก็บรักษาข้อมูล การเข้าถึงข้อมูล หรือการป้องกันการละเมิดความปลอดภัยของข้อมูล
สำหรับองค์ธุรกิจในประเทศไทยไม่อาจมองข้ามความสำคัญของ Data Governance ได้เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ได้มีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด โดย PDPA กำหนดให้องค์กรต่างๆ ต้องมีมาตรการที่ชัดเจนในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ข้อมูล หรือการแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลที่สาม การละเมิดข้อกำหนดเหล่านี้อาจนำมาซึ่งบทลงโทษทางกฎหมายที่รุนแรง และยังส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรในระยะยาวอีกด้วย
ทำความเข้าใจ กับ Data Governance Framework
Data Governance Framework คือโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้การกำกับดูแลข้อมูลในองค์กรเป็นไปอย่างเป็นระเบียบ ปลอดภัย และเป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมาย ประกอบไปด้วยใจความสำคัญดังนี้
- Data Intake and Ingestion กระบวนการนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เข้าสู่องค์กร ซึ่งข้อมูลจะถูกตรวจสอบความถูกต้องและแปลงเป็นรูปแบบที่สามารถใช้งานได้ ช่วยลดความเสี่ยงจากข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องเข้าสู่ระบบ
- Cataloging ข้อมูลที่นำเข้ามาจะถูกจัดระเบียบและบันทึกในรูปแบบของ Catalog เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาโดยใช้ Metadata เพื่ออธิบายลักษณะและคุณสมบัติของข้อมูล เช่น ชนิด ที่มา ระดับความสำคัญ ทำให้สะดวกในการค้นหาและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Persistence ข้อมูลสำคัญจะถูกจัดเก็บในระบบที่มีการจัดการอย่างดี เช่น Database หรือ Data Lake อาจจะต้องอาศัยเทคโนโลยีที่สามารถรองรับการเข้าถึงข้อมูลแบบ Real-time และการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เช่น High Availability Databases หรือระบบ Cloud Storage
- Retention การกำหนดระยะเวลาการเก็บข้อมูลตามความจำเป็นหรือข้อกำหนด Data Governance ทางกฎหมาย เช่น การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA หรือ GDPR ข้อมูลจะถูกจัดเก็บในลักษณะที่ป้องกันการแก้ไขหรือการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการจัดการข้อมูลที่หมดอายุอย่างเหมาะสม
- Storage Management ช่วยให้การจัดการ Local Storage หรือ Cloud Storage เป็นเรื่องง่าย ตามหลักการ Data Governance ระบบต้องมีความสามารถในการขยายตัวและบริหารพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- Sharing การแบ่งปันข้อมูลภายในองค์กรจะต้องเป็นไปตามนโยบาย Data Governance ที่กำหนดไว้ มีการควบคุมสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลผ่าน IAM เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตและรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
- Archiving ข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานเป็นประจำแต่ยังเป็นประโยชน์หรือจำเป็นต้องเก็บรักษาตามกฎหมายจะถูกจัดเก็บในระบบถาวร การจัดเก็บข้อมูลระยะยาวตามหลัก Data Governance ช่วยลดภาระการจัดการข้อมูลในระบบหลักและสามารถเรียกใช้งานข้อมูลได้ในอนาคต
- Backup การสำรองข้อมูลเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญของ Data Governance ที่ช่วยป้องกันการสูญหายของข้อมูลจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน องค์กรสามารถกู้คืนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เช่น การใช้ Backup Solutions ที่รองรับการสำรองข้อมูลทั้งใน On-premises และ Cloud
- Recovery เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ข้อมูลสูญหายหรือไม่สามารถเข้าถึงได้ การมี Disaster Recovery Plan และการจัดเตรียม Infrastructure ที่รองรับการกู้คืนข้อมูลในกรณีฉุกเฉินตามหลักการ Data Governance จะช่วยให้องค์กรกลับมาดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและลดผลกระทบต่อธุรกิจ
- Loss Prevention หลักกาาร Data Governance เน้นการป้องกันข้อมูลสำคัญจากการสูญหาย รั่วไหล หรือโจรกรรม สามารถใช้งาน DLP Tools เช่น Data Encryption และ Access Controls เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล
- Disposition ข้อมูลที่หมดอายุการใช้งานหรือไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาอีกต่อไปจะต้องถูกกำจัดตามนโยบาย Data Governance การกำจัดข้อมูลที่ถูกต้องช่วยป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่จำเป็นและลดความเสี่ยงทางกฎหมาย
- Removal and Deletion เป็นขั้นตอนสุดท้ายของ Data Governance ข้อมูลที่ต้องถูกลบออกจากระบบต้องถูกจัดการอย่างปลอดภัยและไม่สามารถกู้คืนได้ การใช้ Secure Deletion Techniques ช่วยให้มั่นใจว่าข้อมูลถูกลบอย่างถาวรและปลอดภัย ป้องกันการนำหมดอายุไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต
ข้อดีของ Data Governance
การนำ Data Governance มาใช้ในองค์กรมีประโยชน์มหาศาลที่ไม่เพียงแต่ช่วยให้การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพขึ้น แต่ยังเสริมสร้างความยั่งยืนของธุรกิจในยุค Digital Transformation เรามาดูข้อดีของการมีระบบ Data Governance ที่แข็งแกร่งในองค์กรกัน
- ความแม่นยำของข้อมูล Data Governance ช่วยให้ข้อมูลในองค์กรมีความน่าเชื่อถือได้ ด้วยเทคนิค Data Validation และ Data Quality Management ดูแลให้ข้อมูลที่เข้าสู่ระบบผ่านการตรวจสอบ ทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูง ลดข้อผิดพลาดในการวิเคราะห์และตัดสินใจ สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีกว่าเดิม
- การปฏิบัติตามข้อกฎหมาย ในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่มีการบังคับใช้กฎหมาย PDPA อย่างเข้มงวด Data Governance ช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างเคร่งครัด ด้วยการใช้เทคโนโลยี Data Auditing, Access Controls และ Data Masking ป้องกันการละเมิดความเป็นส่วนตัว
- เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูล องค์กรจัดการข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นด้วยการใช้งาน Data Cataloging, Metadata Management และ Data Stewardship ซึ่งช่วยให้ค้นหาและเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูลและลดต้นทุนในการจัดการโดยรวม
- ความปลอดภัยสูง การใช้มาตรการ Data Encryption, IAM และ DLP เพื่อป้องกันข้อมูลจากการโจรกรรม การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจและรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้า
- สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน การมีระบบ Data Governance ที่เข้มแข็งช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างนวัตกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อตลาดและลูกค้าได้ดีกว่าเดิม
- ส่งเสริมการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ Data Governance ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ จากการใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ทำให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มทางธุรกิจ (Business Intelligence) และคาดการณ์อนาคตได้อย่างมั่นใจ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น Big Data Analytics และ Machine Learning ที่อยู่ภายใต้กรอบการกำกับดูแลข้อมูล ทำให้องค์กรสามารถนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
7 ขั้นตอนการทำ Data Governance ให้ประสบความสำเร็จ
การทำ Data Governance ให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ People Process และ Technology เราจะพาทุกท่านมาดูขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้องค์กรทำ Data Governance ให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
- กำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์ ครอบคลุมทุกด้านของการจัดการข้อมูลในองค์กร ตั้งแต่เป้าหมาย หลักปฏิบัติ และมาตรฐาน รวมถึงการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์กร
- สรรหาบุคลากรที่เหมาะสม การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทีมงานควรประกอบไปด้วย Data Stewards, Data Owners, และ Data Custodians ที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลข้อมูลในแต่ละส่วน
- ออกแบบและวางกระบวนการ ตั้งแต่เก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบและยืนยัน จัดเก็บ สำรองข้อมูล และกำจัดข้อมูลที่หมดอายุ นอกจากนี้ยังต้องมี Disaster Recovery Plan เพื่อเตรียมความพร้อมในการกู้คืนข้อมูลในกรณีฉุกเฉิน
- เลือกใช้เทคโนโลยีขั้นสูง Technology เช่น Data Management Platforms, Data Catalogs และ IAM รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่าง Data Encryption และ DLP ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุคที่ความปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญสูงสุด
- สร้างกรอบการทำงานและมาตรฐาน ระบุขั้นตอน กระบวนการ และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน รวมถึงการกำหนดมาตรฐานที่องค์กรต้องปฏิบัติตาม เช่น Data Quality, Data Security และ Data Privacy ช่วยให้การจัดการข้อมูลในองค์กรเป็นไปอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
- ตรวจสอบและประเมินผล ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ เช่น Data Auditing, Data Quality Assessment และ Access Control Monitoring เพื่อรับรองว่าระบบ Data Governance ทำงานได้มีประสิทธิภาพ
- ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาองค์กรจึงต้องปรับปรุงนโยบาย กระบวนการ และเทคโนโลยีอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่นการใช้ Agile Methodology ในการจัดการข้อมูลช่วยให้ระบบ Data Governance มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
สำรวจ Data Governance บน Google Cloud Platform
หลายท่านคงเข้าใจและเห็นความสำคัญของ Data Governance มากขึ้น คงพลาดไม่ได้ที่จะไม่แนะนำให้รู้จักกับ Google Cloud Platform ที่นำเสนอชุดเครื่องมือครอบคลุมทุกมิติของ Data Governance ช่วยให้การจัดการข้อมูลในองค์กรมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
- IAM ช่วยให้ควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงและกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ แบบ Role-Based Access Control อีกทั้งยังสามารถรวมกับ Multi-Factor Authentication (MFA) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล
- Google Cloud Dataplex ช่วยให้กำกับดูแลข้อมูลที่อยู่ในระบบ Data Lake ได้อย่างเป็นระบบ สามารถกำหนดนโยบายด้าน Data Quality, Data Security และ Data Lifecycle ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Dataplex ยังช่วยสร้างและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบ Data Zones ซึ่งใช้ในการจัดการสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลได้ละเอียด
- Google Cloud Data Loss Prevention สามารถใช้ Data Masking และ Data Encryption ช่วยให้ข้อมูลที่สำคัญ เช่น PII หรือข้อมูลทางการเงินได้รับการปกป้อง นอกจากนี้ยังมี Google Cloud Security Command Center ที่ใช้ตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์อีกด้วย
- Google Cloud Audit Logs ช่วยติดตามและบันทึกกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบน Google Cloud Platform ทำให้ตรวจสอบการเข้าถึงและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเป็นไปอย่างโปร่งใส
การนำเสนอเครื่องมือที่มีความสามารถสูงและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย Google Cloud Platform ช่วยให้องค์กรของท่านสามารถสร้าง Data Governance ที่แข็งแกร่งและตอบสนองต่อความท้าทายในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ Data Governance บน Google Cloud เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่ช่วยเสริมสร้าง Data Governance ให้กับองค์กร
สรุป
การจัดการข้อมูลในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่ท้าทายและต้องการการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ Data Governance บน Google Cloud Platform นำเสนอเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทรงพลังเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการจัดการข้อมูลขององค์กร ตั้งแต่การควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง การปกป้องข้อมูล Google Cloud Platform ช่วยให้การจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย
Tangerine มีความภูมิใจนำเสนอ Google Cloud Data Governance Solution ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองทุกความต้องการขององค์กรในด้านการจัดการข้อมูล เรานำเสนอระบบที่รองรับ Standard Compliance ทั้ง GDPR, PCI DSS, HIPAA และ CSA ซึ่งช่วยให้ท่านมั่นใจได้ถึงระบบความปลอดภัยและพื้นฐานการจัดการข้อมูลที่แข็งแกร่ง หากท่านต้องการเสริมสร้างระบบ Data Governance และพัฒนาการจัดการข้อมูลขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น Tangerine พร้อมที่จะเป็นพันธมิตรในการสร้างอนาคตที่มั่นคงและปลอดภัยเคียงข้างองค์กรของท่าน