วันนี้ผมมีเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับ AI Engineer และทุกคนที่ต้องทำงานกับข้อมูลบนเว็บไซต์มาเล่าให้ฟังครับ นั่นคือ URL Context Tool ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดใน Gemini API ของ Google ที่จะพลิกโฉมวิธีการที่เราดึงข้อมูลจากเว็บไปเลย !
หลายคนคงเคยเจอปัญหาเวลาที่อยากได้ข้อมูลจากเว็บไซต์ใช่ไหมครับ ? ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสินค้า ราคา บทความ หรืออะไรก็ตาม การจะดึงข้อมูลเหล่านั้นออกมาใช้งานได้ มักจะต้องพึ่งพาการเขียนโค้ดสำหรับ Web Scraping หรือใช้ Crawler ซึ่งบอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ ไหนจะต้องจัดการกับโครงสร้างเว็บที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไหนจะต้องระวังเรื่องการบล็อก IP หรือแม้แต่ข้อจำกัดทางกฎหมายอีกสารพัด
แต่ตอนนี้… ปัญหาเหล่านั้นกำลังจะกลายเป็นอดีตครับ !
ภาพประกอบสร้างโดย Gemini Web App โดยผู้เขียน
URL Context Tool: ไม่ต้องเขียน Crawler เองแล้ว ประหยัดเวลาไปเยอะ !
หัวใจสำคัญของ URL Context Tool คือการที่มันช่วยให้โมเดล Gemini สามารถ “อ่าน” และ “ทำความเข้าใจ” เนื้อหาจาก URL ที่เราป้อนให้ได้โดยตรงครับ นั่นหมายความว่า เราไม่ต้องมานั่งเขียนโค้ดดึงข้อมูลทีละส่วนเองอีกต่อไปแล้ว! โมเดลจะจัดการให้เราเสร็จสรรพ ทำให้เราประหยัดเวลาและลดความซับซ้อนในการทำงานไปได้มหาศาล
ลองนึกภาพดูสิครับว่า จากที่เคยต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน ๆ ในการพัฒนาและดูแลรักษา Crawler ตอนนี้เราแค่ป้อน URL เข้าไป แล้วให้ Gemini จัดการที่เหลือให้! มันเหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวที่ฉลาดหลักแหลมคอยอ่านเว็บให้เราเลยครับ 😂
ฟีเจอร์เด่น: URL Context และ Grounding with Google Search + URL Context
URL Context Tool มีวิธีการใช้งานหลักๆ อยู่ 2 รูปแบบครับ ที่จะช่วยให้เราดึงศักยภาพของมันออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่:
URL Context (ใช้งานเดี่ยว ๆ):
ในโหมดนี้ เราสามารถป้อน URL ที่ต้องการให้โมเดลวิเคราะห์ได้โดยตรงครับ เหมาะสำหรับกรณีที่เรามี URL เป้าหมายอยู่แล้ว และต้องการให้ Gemini สกัดข้อมูล สรุปเนื้อหา หรือตอบคำถามจากหน้าเว็บนั้น ๆ โดยเฉพาะ
สนใจโซลูชั่น Cloud จากแทนเจอรีน ทั้ง GCP , AWS , Azure , Alicloud หรือ Huawei Cloud
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำปรึกษาและออกแบบโซลูชันที่ตอบโจทย์ที่สุดสำหรับองค์กรของคุณ
Prompt ตัวอย่าง:
Extract the key features and recommended origin for the coffee beans described on https://shopee.co.th/kohi.kobu . Also, summarize any current promotions or bundles available for these beans.
URL ที่ใช้เป็น Context:
https://shopee.co.th/kohi.kobu
Grounding with Google Search + URL Context:
อันนี้เด็ดกว่าเดิมครับ! บางครั้งเราอาจจะยังไม่มี URL ที่ต้องการ แต่รู้แค่ว่าอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร ในกรณีนี้ เราสามารถใช้ฟีเจอร์ Grounding with Google Search เพื่อให้ Gemini ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องก่อน จากนั้น โมเดลจะใช้ URL Context Tool เพื่อเข้าไป “อ่าน” เนื้อหาในผลลัพธ์การค้นหาเหล่านั้นอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำและครบถ้วนยิ่งขึ้นครับ
ฟีเจอร์นี้ทำให้ Gemini ไม่ได้แค่ “หา” ข้อมูล แต่ยัง “เข้าใจ” ข้อมูลจากแหล่งที่มาโดยตรงอีกด้วยครับ
สถานการณ์ตัวอย่าง: คุณสนใจกาแฟของ kōhī kobu และอยากรู้ว่าลูกค้าคนอื่นๆ มีความคิดเห็นหรือรีวิวเกี่ยวกับรสชาติและคุณภาพกาแฟของร้านนี้อย่างไรบ้าง และจากรีวิวแนะนำกาแฟตัวไหนเป็นพิเศษ
Prompt ตัวอย่าง:
Give me a summary of the coffee shop kōhī kobu from https://app.kohi.day and the recommend coffee beans from this store base on interest bean from internet.
อยากลองเล่น URL Context Tool ? ไปที่นี่ได้เลย !
สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกว้าว อยากลองทดสอบด้วยตัวเอง ผมมีสองช่องทางหลักๆ ที่คุณสามารถเข้าไปสนุกกับ URL Context Tool ได้ทันทีครับ:
- Google AI Studio: Playground ที่ง่ายและเร็วที่สุด!
สำหรับมือใหม่ หรือใครที่อยากลองเล่นแบบง่ายๆ ไม่ต้องเขียนโค้ดเยอะ Google AI Studio คือคำตอบครับ ! มันเหมือนเป็นสนามเด็กเล่นให้เราได้ลองส่ง Prompt และใส่ URL Context เข้าไปดูผลลัพธ์ได้เลยทันที โดยไม่ต้องตั้งค่าอะไรยุ่งยากครับ- เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ต้องการทดลองฟีเจอร์อย่างรวดเร็ว, นักเรียน, นักพัฒนาที่ไม่ต้องการสร้างโปรเจกต์เต็มรูปแบบ
- วิธีเข้าถึง: เข้าไปที่ https://aistudio.google.com/ แล้วลองสร้าง Prompt ใหม่ คุณจะเห็นตัวเลือกสำหรับใส่ URL Context หรือเปิดใช้งาน Grounding with Google Search ได้เลยครับ
- ลอง Gemini APIs เลย! ถ้าคุณเป็นสาย Python หรือ Programming
สำหรับนักพัฒนาอย่างผม (และทุกท่านที่รักการเขียนโค้ด) การลองเล่นผ่าน Gemini API โดยตรง จะเปิดโลกของการปรับแต่งและประยุกต์ใช้งานได้กว้างกว่ามากครับ คุณสามารถเขียนโค้ด Python (หรือภาษาอื่นๆ ที่รองรับ) เพื่อเรียกใช้ฟีเจอร์ URL Context และนำไปผสานรวมกับแอปพลิเคชันหรือระบบงานของคุณได้อย่างอิสระเลยครับ- เหมาะสำหรับ: นักพัฒนา, วิศวกรข้อมูล, Data Scientist ที่ต้องการสร้างโซลูชันแบบกำหนดเอง หรือนำไปต่อยอดในโปรเจกต์จริง
- วิธีเข้าถึง: เข้าไปดูรายละเอียดและตัวอย่างโค้ดได้ที่ https://ai.google.dev/gemini-api/docs/url-context ครับ มีเอกสารอธิบายวิธีการใช้งานและตัวอย่างโค้ดให้คุณเริ่มต้นได้ไม่ยากเลย
ข้อจำกัดที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ URL Context Tool
ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ แม้แต่เทคโนโลยีล้ำ ๆ อย่าง URL Context Tool ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่คุณควรรู้ไว้ก่อนใช้งาน เพื่อให้การทำงานราบรื่นและไม่เกิดความเข้าใจผิดพลาดครับ
- จำนวน URL ที่จำกัดต่อหนึ่งคำขอ: ในปัจจุบัน (ช่วงที่เป็นฟีเจอร์ทดลอง) คุณสามารถป้อน URL ได้สูงสุด ไม่เกิน 20 URL ต่อหนึ่งคำขอ (request) ครับ หากคุณมีข้อมูลจากหลายสิบหรือหลายร้อย URL ที่ต้องการให้โมเดลวิเคราะห์พร้อมกัน อาจจะต้องแบ่งการเรียกใช้งานออกเป็นหลายๆ ครั้งครับ
- เหมาะกับหน้าเว็บมาตรฐาน ไม่รองรับเนื้อหามัลติมีเดีย: เครื่องมือนี้ถูกออกแบบมาเพื่อ “อ่าน” และ “ทำความเข้าใจ” ข้อความและโครงสร้างจากหน้าเว็บมาตรฐานเป็นหลักครับ ในช่วงทดลองนี้ ยังไม่เหมาะกับการประมวลผลเนื้อหาประเภทมัลติมีเดีย เช่น วิดีโอ รูปภาพ หรือไฟล์ PDF โดยตรงครับ หากหน้าเว็บมีเนื้อหาเหล่านี้เป็นหลัก โมเดลอาจจะดึงข้อมูลได้ไม่ครบถ้วนเท่าที่ควร
- ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องล็อกอินหรืออยู่หลัง Paywall ได้: เหมือนกับ Web Crawler ทั่วไปครับ URL Context Tool ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องมีการยืนยันตัวตน (ล็อกอิน) หรือเนื้อหาที่อยู่หลัง Paywall (ต้องเสียเงินสมัครสมาชิกเพื่อเข้าถึง) ได้ครับ ข้อมูลที่ดึงมาได้จะจำกัดอยู่เฉพาะส่วนที่สามารถเข้าถึงได้แบบสาธารณะเท่านั้น
- เว็บไซต์ที่มีการเรนเดอร์ด้วย JavaScript ซับซ้อนอาจมีปัญหา: แม้ว่าจะฉลาดแค่ไหน แต่เว็บไซต์บางแห่งที่ใช้ JavaScript ในการเรนเดอร์เนื้อหาอย่างซับซ้อนมากๆ อาจทำให้การดึงข้อมูลไม่สมบูรณ์ หรือพลาดข้อมูลบางส่วนไปได้ครับ
- ข้อจำกัดด้านโควต้าการใช้งาน (Query Quotas): เช่นเดียวกับบริการ API อื่น ๆ ของ Google Cloud จะมีข้อจำกัดด้านโควต้าการเรียกใช้งานต่อวัน (Daily Query Quotas) ทั้งสำหรับ Gemini API และ Google AI Studio ครับ หากใช้งานเกินโควต้าที่กำหนด อาจจะต้องรอจนถึงวันถัดไปจึงจะใช้งานต่อได้
- ยังอยู่ในช่วงทดลอง (Experimental Feature): โปรดจำไว้ว่า URL Context Tool ยังเป็น “Experimental Feature” ครับ นั่นหมายความว่าฟังก์ชันการทำงาน พฤติกรรม หรือข้อจำกัดต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าครับ รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะตามมาในอนาคตเมื่อพ้นช่วงทดลองครับ
สรุป
URL Context Tool ใน Gemini API เป็นอีกก้าวสำคัญที่ Google พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ Data Cloud Engineer อย่างผมและทุกคนที่ทำงานกับข้อมูลจากเว็บ ทำงานได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ มันช่วยลดภาระในการทำ Web Scraping และเปิดโอกาสให้เราสามารถดึงข้อมูลเชิงลึกจากเว็บไซต์มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น
ผมเชื่อว่าฟีเจอร์นี้จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับหลาย ๆ ธุรกิจที่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนโลกออนไลน์ครับ ใครที่สนใจก็ลองไปเล่นใน Google AI Studio กันดูนะครับ แล้วคุณจะรู้ว่ามันเจ๋งแค่ไหน !
สำหรับวันนี้ ผมขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ !