BLOGS

ดีคนละแบบ SD-WAN vs VPN เลือกอย่างไรให้เหมาะกับองค์กร

Tangerine • 08/03/2024
Tangerine Co., Ltd.

หลากหลายธุรกิจอาจกำลังตัดสินใจเลือกการใช้ระเบบเครือข่ายในการเชื่อมต่อระหว่างสาขาหรือองค์กร โดยในปัจจุบันมีบริการที่หลากหลายทั้ง SD-WA์N และ VPN  ให้แต่ละธุรกิจได้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน แล้วธุรกิจของท่านเหมาะกับการใช้งานแบบไหน บทความนี้มีคำตอบ

SD-WAN คืออะไร ?

SD-WAN Architecture

SD-WAN (Software-defined Wide Area Network) เป็นเทคโนโลยีในด้านเครือข่ายที่ใช้หลักการของ Software-defined Networking (SDN) เพื่อจัดการและปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network – WAN) อย่างมีประสิทธิภาพ โดย SD-WAN ช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมต่อผู้ใช้งาน (Users) แอปพลิเคชัน (Application) และข้อมูล (Data) อย่างปลอดภัยจากหลาย ๆ สถานที่ พร้อมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น (Improved Performance) มีความน่าเชื่อถือ (Reliability) และรองรับการขยายตัว (Scalability) นอกจากนี้ SD-WAN ยังทำให้การจัดการเครือข่าย WAN ง่ายขึ้นด้วยการควบคุม (Control) การมองเห็น (Visibility) เครือข่ายที่ได้จากศูนย์กลาง

SD-WAN เป็น Virtualized Service ที่สามารถเชื่อมต่อและขยายเครือข่ายขององค์กรในระยะทางที่กว้างโดยใช้ลิงก์ เช่น Multiprotocol Label Switching (MPLS) ไวร์เลส บรอดแบนด์ รวมถึง Virtual Private Networks (VPNs) และอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้ในสาขาและสำนักงานระยะไกลสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชัน บริการ และทรัพยากรขององค์กรได้ อุปกรณ์ SD-WAN ยังสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการเชื่อมต่อ WAN และจัดการกับทราฟฟิกเพื่อคงไว้ซึ่งความเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อ

SD-WAN เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของ WAN แบบเดิม ๆ โดยใช้วิธีที่ง่ายกว่าในการปรับปรุงและรักษาความปลอดภัยของการเชื่อมต่อ WAN โดย SD-WAN เป็นระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์ในการกำหนดค่าต่าง ๆ ให้สามารถจัดการกับประเภทของทราฟฟิกในการทำงานได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด

VPN คืออะไร ?

การทำงานของ VPN

VPN สามารถสร้างการเชื่อมต่อ โดยการเข้ารหัสการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์ ด้วยการสร้างทางเชื่อม (VPN Tunnel) ข้อมูลทั้งหมดจากต้นทางไปจนถึงปลายทางจะถูกเข้ารหัสไว้ ซึ่งองค์กรต่าง ๆ มักใช้ VPN ในการเชื่อมระหว่างไซต์เพื่อป้องกันการถูกโจมตีหรือโจรกรรมข้อมูล และการใช้งาน VPN ยังเปรียบเสมือนว่าผู้ใช้งานผ่าน VPN นั้นนั่งทำงานอยู่ที่เดียวกับองค์กรหลัก (HQ) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) หรือจุดที่ VPN Server ติดตั้งอยู่ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรได้

ข้อแตกต่างระหว่าง SD-WAN และ VPN
เปรียบเทียบ SD-WAN กับ VPN

เมื่อเปรียบเทียบ SD-WAN กับเน็ตเวิร์กโซลูชันอื่น ๆ โดยเฉพาะ VPN จะพบความแตกต่าง และความคล้ายคลึงกันหลาย ๆ อย่าง

โครงสร้างและฟังก์ชันการทำงาน

แนวคิดของ SD-WAN คือการจัดการ WAN Link โดยอาศัยหลักการ SDN (Software Defined Network) มีความสามารถในการจัดการแบบ Centralized, Cloud-native และความสามารถในการขยายตัว  (Scalability) ซึ่งสามารถกำหนดวิธีการส่งทราฟฟิกโดยใช้ Security Policy QoS และ Policy ที่กำหนดเองตามนโยบายขององค์กรนั้น ๆ ส่วน VPN จะสร้าง Secure Tunnel ระหว่างจุดสองจุด เพื่อเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งระหว่างกันเท่านั้น

Traffic Management

SD-WAN สามารถกำหนดเส้นทางการรับส่งข้อมูลได้อย่างชาญฉลาดผ่านการเชื่อมต่อที่หลากหลาย ตั้งแต่ MPLS ไปจนถึง Internet Broadband หรือแม้กระทั่ง LTE โดยจะเลือกใช้เส้นทางที่ดีที่สุดตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ส่วน VPN มักจะใช้งาน Link เดียวเป็นหลัก และจะส่งข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อนี้ได้เพียงอย่างเดียว

Performance Aspects

SD-WAN มี Advance Function เช่น Dynamic Path Selection และ Application-aware Routing ทำให้สามารถลด Latency และผู้ใช้ยังได้รับ Experience ที่ดียิ่งขึ้น ในขณะที่การใช้งาน VPN จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว และอาจประสบปัญหาความล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องส่งข้อมูลในช่วงที่มีการใช้งาน Internet สูง

Security Implications

แม้ว่า VPN จะมีการเข้ารหัสข้อมูลก็ตามแต่ก็ยังมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ เนื่องจากแนวคิดหลักของ VPN คือการใช้งานผ่าน Public Internet ทำให้อาจจะโดนโจมตีจากหลากหลายด้าน แต่ในทางตรงกันข้าม SD-WAN เป็นบริการที่มีการเข้ารหัสจากต้นทางถึงปลายทางทั่วทั้งเครือข่าย และยังมาพร้อมกับเครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย เช่น NGFW, SASE และ CASB ซึ่งช่วยยกระดับความปลอดภัยของ SD-WAN ได้ดียิ่งขึ้น

Cost Perspectives

เนื่องจากความเรียบง่ายจึงทำให้ VPN เป็นตัวเลือกที่ประหยัดกว่า โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจที่มีจำนวนสาขาน้อย และมีความต้องการเครือข่ายที่ตรงไปตรงมา ส่วน SD-WAN แม้จะมีราคาสูงกว่า แต่ก็มีโซลูชันที่ครอบคลุมพร้อมประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ได้รับการปรับปรุง ทำให้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้น

Maintenance and Scalability

SD-WAN โดดเด่นในแง่ของความสามารถในการขยายตัว (Scalability) ลักษณะการจัดการแบบ Cloud-native หรือแบบ Centralized ทำให้การเพิ่มไซต์ใหม่หรือการปรับเปลี่ยน Policy นั้นทำได้ง่าย และไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขอะไรมากมาย

Visibility

SD-WAN เก่งในเรื่อง Network Transparency โดยสามารถนำเสนอข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลและประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน VPN แม้จะปลอดภัยเช่นเดียวกัน แต่ก็มีมุมมองการมองเห็นที่จำกัด ทำให้ SD-WAN เป็นตัวเลือกที่เหนือกว่าสำหรับการมองเห็น (Visibility)

How to Choose Between SD-WAN and VPN

5 ปัจจัยเลือกระหว่าง SD-WAN กับ VPN

การตัดสินใจเลือกใช้ระหว่าง SD-WAN และ VPN นั้นขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ความต้องการบางอย่างขององค์กรอาจจะเหมาะสมกับเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป ซึ่งเทคโนโลยีทั้งสองเน้นการรับส่งข้อมูลที่ปลอดภัย แต่วิธีการ ความซับซ้อน และข้อดีของทั้งสองนั้นก็มีความแตกต่างกันไป

Understanding Organizational Needs

ขั้นแรกพิจารณาจากความต้องการขององค์กรเป็นหลัก สำหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีจำนวนสาขาไม่มาก การใช้งาน VPN ก็อาจจะตอบโจทย์เนื่องจากไม่ซับซ้อนและราคาไม่แพง ไม่ต้องลงทุนเยอะ

แต่สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีจำนวนสาขาเยอะ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ใช้งานคลาวด์ อาจหันไปใช้ SD-WAN เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการทำงาน

Diving Deep into Features

SD-WAN โดดเด่นด้วยความสามารถในการกำหนดเส้นทางการรับส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์โดยอิงตามความสมบูรณ์ของเครือข่าย (Netwok Health) ทำให้มั่นใจได้ว่ามีการส่งข้อมูลด้วยเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ SD-WAN ยังรวมฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น LAN, WAN, Security และ Application Performance ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว

ในขณะเดียวกัน VPN แม้จะธรรมดากว่า แต่ก็เป็นช่องทางที่ปลอดภัยสำหรับการส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต และยังทำงานได้อย่างน่าเชื่อถือ แต่จะไม่มีความสามารถในการปรับแต่งเส้นทางของการส่งข้อมูล แบบ SD-WAN จึงทำให้อาจเจอปัญหาคอขวดบ้างเป็นครั้งคราว

Evolution and Future Trajectory

การเลือกใช้ระหว่าง SD-WAN และ VPN ไม่เพียงแต่ต้องพิจารณาทางด้านเทคนิคเท่านั้น กลยุทธ์ทางธุรกิจก็เป็นสิ่งจำเป็นต้องนำมาใช้ในการตัดสินใจเช่นกัน เนื่องจากทั้งสอง Solution มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป นอกจากนั้นควรพิจารณาจากเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น ข้อจำกัดด้านงบประมาณ เป็นต้น

หากองค์กรของท่านมีความสนใจหรือมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Solution
สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของ tangerine ได้ที่ info@tangerine.co.th

Get a Free Consultation
Contact Form_EN Sources (#25)